ความหมาย ของ การคว่ำบาตร (ศาสนาพุทธ)

คำว่า คว่ำบาตร นั้น มีที่มาจากการที่พระสงฆ์ลงโทษบุคคลผู้มีปรารถนาร้ายต่อพระรัตนตรัยอย่างร้ายแรง ซึ่งมีความผิดอยู่ 8 ประการ[1][2] คือ

  1. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแก่สงฆ์
  2. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่สงฆ์
  3. ขวนขวายเพื่อให้พระอยู่ไม่ได้
  4. ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย
  5. ยุยงให้สงฆ์แตกกัน
  6. ตำหนิติเตียนพระพุทธเจ้า
  7. ตำหนิติเตียนพระธรรม
  8. ตำหนิติเตียนพระสงฆ์

ฆราวาสผู้ใดมีพฤติกรรมดังกล่าว พระสงฆ์จะประชุมกันแล้วประกาศไม่ให้ภิกษุทั้งหลายคบค้าสมาคมด้วย การคว่ำบาตรในทางพระวินัยไม่ได้หมายถึงการคว่ำบาตรลง แต่หมายถึงการไม่รับบิณฑบาต ไม่รับนิมนต์ ไม่รับเครื่องใช้ อาหารหวานคาวที่บุคคลผู้นั้นนำมาถวาย[3] แต่หากต่อมาคนผู้นั้นสำนึกรู้สึกตน กลับมาประพฤติดี คณะสงฆ์ก็จะประกาศเลิก “คว่ำบาตร” ยอมให้ภิกษุทั้งหลายคบค้าสมาคมรับบิณฑบาต รับนิมนต์ รับเครื่องถวายไทยธรรมได้ เรียกว่า “หงายบาตร” เป็นสำนวนคู่กัน

ดังนั้นการคว่ำและหงายบาตรจึงถือเป็นการลงโทษทางจารีตแบบหนึ่ง[4] ที่พระสงฆ์ได้นิยมถือปฏิบัติสืบมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพื่อประโยชน์ในการตักเตือนและความอยู่โดยปกติสุขระหว่างพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน

ใกล้เคียง

การคว่ำบาตร การคว่ำบาตร (ศาสนาพุทธ) การคว่ำบาตรเผ่าบนูฮาชิมของชาวมักกะฮ์ การคว่ำบาตรธุรกิจชาวยิวของนาซี การคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 การคว่ำบาตรรถโดยสารประจำทางมอนต์โกเมอรี การคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 การคว่ำบาตรต่อสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย